บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้สอนว่านิพพานเป็นอัตตา

บทนำ


บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แจงให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้และเข้าใจว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้สอนว่า นิพพานเป็นอัตตาอย่างที่คนจำนวนหนึ่งเชื่อกัน

เนื่องจาก มีผลงานทางวิชาการของพุทธวิชาการ/นักปริยัติ ได้เผยแพร่แนวความคิดดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ส่วนใหญ่แล้ว เป็นข้อเขียนที่มีเจตนาโจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

เพราะ ในความเป็นจริงแล้ว เป็นการตีความของพวกที่ต้องการโจมตี และเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้อง เป็นการตีความที่ขาดจริยธรรมในทางวิชาการเป็นอย่างมาก

หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่เคยสอนว่านิพพานเป็นอัตตา”  แม้กระทั่งข้อความที่ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ไม่เคยสอนเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา ได้ และลูกศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำก็ตีความไปเช่นนั้น

ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ข้อความ นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาเป็นการตีความ ไม่ใช่คำสอนตรงๆ

ดังนั้น จึงข้อเสนอหลักฐานเป็นเบื้องต้นไว้ก่อนว่า ไม่มีสักครั้งเดียวที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา”  และไม่ปรากฏหลักฐานในที่ใดๆ ที่เป็นข้อเขียน คำสอน หรือคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่กล่าวว่า นิพพานเป็นอัตตา

ความหมายของประโยคทั้ง 2 ประโยคนี้ กล่าวคือ นิพพานเป็นอัตตาและ นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาพุทธศาสนิกชนบางท่านอาจจะตั้งข้อสงสัยว่า ไม่เห็นจะแตกต่างกันเลย ความหมายก็น่าจะคล้ายกัน เพราะตัดเอาคำว่า นิจจัง/สุขังออกไปเท่านั้น

ความเห็นดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องนัก เพราะในสถานการณ์และบริบทของการใช้ภาษาในปัจจุบัน ความหมายของทั้ง 2 ประโยคดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมาก

สาเหตุเกิดจากความหมายของคำว่า อัตตาในภาษาธรรมดา (ordinary language) ในชีวิตประจำวันนั้น มักนิยมใช้กันในความหมายที่ว่า ยึดมั่น ถือมั่นว่าตนเองว่าดีกว่าคนอื่น” 

ซึ่งเป็นความหมายที่แตกต่างจากความหมายของคำว่า อัตตาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาไทย

ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าพบว่า นักวิชาการคนใดไม่ยอมฟังความคิดเห็นของคนอื่น เชื่ออยู่อย่างเดียวว่าความคิดเห็นของตนเองถูกต้อง

นักวิชาการคนดังกล่าวก็อาจจะถูกวิพากษ์ว่า อัตตาสูง หรือ มีอัตตา

สำหรับความหมายของคำว่า อัตตาในพระไตรปิฎกภาษาไทยนั้น พุทธวิชาการ/นักปริยัติส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเข้าใจความหมายถูกต้องนัก เพราะ เข้าใจผิดกับประเภทของคำ คำว่า อัตตา

ในพระไตรปิฎกภาษาไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไม่ใช่คำนาม (noun) อย่างที่หลายๆ ท่านเชื่อกันอยู่

ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า “อัตตา” คำคุณศัพท์ (adjective) นั้น ผู้เขียนจะกล่าวถึงต่อไปในเนื้อหาของบทความนี้

ธรรมชาติของการเรียนรู้ในปัจจุบันนั้น คนรุ่นใหม่มักจะได้รับความรู้พื้นฐานหรือส่วนหนึ่งมาจากคนรุ่นเก่ากว่า  หรือนักวิชาการรุ่นใหม่ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จากนักวิชาการรุ่นก่อนหน้า

ในการที่จะคิดค้นความรู้ใหม่ๆ ออกมา  เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การหาความรู้ในปัจจุบันนั้น เหมือนกับการเล่นต่อภาพจิ๊กซอว์ (Jigsaw)

เมื่อมีผู้ค้นคว้าความรู้ได้หนึ่งอย่าง ก็จะนำความรู้นั้นมาติดลงไปในแผ่นภาพจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ความรู้ทางวิชาการจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น ในงานวิชาการต่างๆ จึงเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะเกิดจากความรู้ของคนใดคนหนึ่ง โดยไม่ได้พึ่งความรู้จากคนอื่นๆ เลย

เมื่อคิดค้นความรู้ได้แล้ว และนำมาเขียนเผยแพร่ จึงเป็นความธรรมดาอย่างมากที่จะต้องมีการนำ ความคิดหรือ ข้อเขียนของบุคคลอื่นๆ นำมาเขียนในหนังสือหรือบทความของเรา

ในการกระทำอย่างนั้น มารยาท จริยธรรม หรือคุณธรรมที่ต้องกระทำก็คือ การอ้างอิงแหล่งที่มาของ ความคิดหรือ ข้อเขียนเหล่านั้น

การอ้างอิงแหล่งที่มา

การที่จะพิสูจน์คำกล่าวของผู้เขียนที่กล่าวว่า ไม่มีสักครั้งเดียวที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะสอนว่า นิพพานเป็นอัตตานั้น มีหนทางพิสูจน์ได้ 2 หนทาง ดังนี้

หนทางแรก
หนทางนี้ค่อนข้างจะยากนิดหนึ่งก็คือ ไปอ่านหนังสือที่หลวงพ่อวัดปากน้ำเขียน และหนังสือคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่มีคณะลูกศิษย์ถอดเทปและนำมาเผยแพร่ ทั้งหมด หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โดยต้องพยายามอ่านหาให้ได้ว่า มีข้อความที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่า นิพพานเป็นอัตตาหรือไม่ 

ซึ่งวิธีที่หนึ่งนี้ ผู้เขียนทำมาแล้ว ผลก็ปรากฏออกมาว่า ไม่พบหลักฐานในที่ใดๆ ที่เป็นคำสอนหรือคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่กล่าวว่า นิพพานเป็นอัตตา”  แม้แต่คำสอนที่ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาก็ไม่มี

หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนว่า กายโลกีย์เป็นกายอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  ส่วนกายโลกุตระเป็นกายนิจจัง สุขัง อัตตา

ในประเด็นที่เกี่ยวกับนิพพานนั้น กายธรรมพระอรหัต ซึ่งเป็นกายโลกุตระ จะไปอุบัติอยู่ในนิพพาน

ดังนั้น จึงมีการตีความคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา ขอให้ไปอ่านรายละเอียดได้ที่นี่  www.manaskomoltha.net

หนทางที่สอง
สำหรับหนทางที่สองนี้ ง่ายมากๆ  ก็คือ ไปอ่านหนังสือที่พุทธวิชาการ/นักปริยัติที่ชอบนำข้อความว่า นิพพานเป็นอัตตามาโจมตีคำสอนของวิชชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำว่า มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่

วิธีนี้ที่สองนี้ ผู้เขียนก็ทำมาแล้ว ผลก็ปรากฏออกมาว่า หนังสือทุกเล่มที่โจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ไม่เคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความที่ว่า นิพพานเป็นอัตตาแม้แต่ครั้งเดียว

การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขาดมารยาทในทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง 

ในกรณีที่เป็นงานวิชาการ เช่น วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกนั้น การกระทำดังกล่าวนี้ ถึงกับทำให้ไม่จบการศึกษาเลยทีเดียว

ในการนำข้อเขียนของผู้อื่นมาเขียนลงในหนังสือของเราเพื่อสนับสนุนความคิด นั้น ในทางปฏิบัติแล้วมีอยู่ 2 วิธีการ คือ

หนึ่ง นำเฉพาะความคิดมา และนำมาเขียนด้วยสำนวนภาษาของผู้เขียน

สอง นำข้อเขียนของต้นฉบับมาทุกตัวอักษร แม้กระทั่งการพิมพ์ผิดก็ต้องนำมาทุกตัวอักษรอย่างผิดๆ  แล้วทำเชิงอรรถว่า คำนั้นพิมพ์ผิดนั้น สันนิษฐานว่า เกิดจากกระบวนการพิมพ์เป็นต้น 

แต่ไม่ว่าจะใช้แบบที่หนึ่งหรือแบบที่สอง ก็จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาว่า นำมาจากหนังสือเล่มใด หรือการเทศน์ที่ไหน เมื่อไหร่ เป็นต้น

การที่พุทธวิชาการ/นักปริยัติที่ชอบนำข้อความว่า นิพพานเป็นอัตตามาโจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา

เป็นการโจมตีแบบลอยๆ ไม่มีหลักฐานทางวิชาการ ก็เป็นเครื่องพิสูจน์หรือหลักฐานสนับสนุนได้เป็นอย่างดีว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำ ไม่เคยสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา

การกระทำดังกล่าวนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า พุทธวิชาการ/นักปริยัติเหล่านั้นขาดมารยาททางวิชาการที่ควรจะเป็น

แต่อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า ผู้ที่สนใจในประเด็นที่เกี่ยวกับนิพพานนั้นมีเป็นจำนวนมาก  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้ไม่รู้จริงๆ และกลุ่มผู้แกล้งไม่รู้..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น