บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาตรงตามพระไตรปิฎก


ในท้ายบทความที่แล้ว ผมได้สรุปไปว่า พวกที่ชอบโจมตีว่า นิพพานเป็นอัตตานั้น บางคนก็รู้ว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้สอนอย่างนั้น บางคนก็ไม่รู้จริงๆ

ไม่รู้จริงหรือแกล้งไม่รู้

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้ที่สนใจประเด็นเกี่ยวกับนิพพานตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น อาจจะแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้เป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มผู้ไม่รู้จริงๆ ว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่เคยสอนทั้งข้อความว่า นิพพานเป็นอัตตา กับ “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” แต่คำสอนเรื่องพระไตรลักษณ์กับเรื่องนิพพานของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความไปเช่นนั้นได้

เพราะ อ่านหนังสือทีไรก็เจอแต่หนังสือที่กล่าวว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่า นิพพานเป็นอัตตากล่าวคือ กลุ่มนี้ไม่ได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง

ถ้ามีคนถามว่า จะเป็นได้หรือที่นักวิชาการจะไม่รู้ว่า คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” เท่านั้น หลวงพ่อไม่เคยสอนอย่างนี้ คิดได้แต่ว่าหลวงพ่อสอนว่า นิพพานเป็นอัตตาตามหนังสือหลายๆ เล่ม

ผู้เขียนขอยืนยันว่าเป็นไปได้  เพราะ นักวิชาการที่สนใจประเด็นเรื่องนิพพานนั้น ไม่ใช่มีเพียงนักวิชาการที่เกี่ยวกับศาสนาเท่านั้น

ยังมีนักวิชาการที่ข้ามสาขามาจากสาขาอื่นๆ เช่น แพทย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ หรือนักสังคมวิทยา เป็นต้น

นักวิชาการเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีเวลามีศึกษาค้นคว้าลึกลงไปในเรื่องที่ตนเองสนใจได้  เมื่อพบว่า มีหนังสือหรือบทความวิชาการที่คนเขียนมีความน่าเชื่อถือ มีคุณวุฒิก็จะเชื่อกันตามๆ ไป 

เมื่อพบข้อความโจมตีหลวงพ่อวัดปากน้ำแบบผิดๆ ว่า นิพพานเป็นอัตตา หลายเล่ม หลายแห่งเข้า ก็จึงมีความเชื่อไปเช่นนั้น

สำหรับกลุ่มที่สองนั้น  รู้ว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำสอนไม่เคยสอนว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” และไม่เคยสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา

คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา”  เท่านั้น

แต่ถ้าเขียนไปตรงๆ เช่นนั้น ก็หาหนทางโจมตีหลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้  เพราะ ข้อเขียนดังกล่าวนั้นถูกต้องตามพระไตรปิฎกทุกประการ

จึงจำเป็นจะต้องตีความให้ผิดเข้าไว้ โดยตัดเอาคำว่า นิจจัง/สุขังออกไปให้เหลือเพียงว่า นิพพานเป็นอัตตา

ที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้นก็คือ มีการเปลี่ยนแปลงความหมายคำว่า “อัตตา” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำอีกด้วย

นิพพานเป็นนิจจัง/สุขขัง/อัตตาถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎกแล้ว

ในทางภาษาศาสตร์นั้น เมื่อจะศึกษาข้อความใดจะต้องพิจารณาศึกษาทั้งตัวบท/ข้อความ (text) และสถานการณ์ในการใช้ภาษาในช่วงที่กล่าวหรือเขียนข้อความนั้นหรือบริบท (context) ของข้อความนั้นๆ ด้วย

เฉพาะส่วนที่เป็นตัวบท/ข้อความ (text) นั้น นักภาษาศาสตร์จะต้องรู้และเข้าใจให้ได้ก่อนว่า คำแต่ละคำเป็นประเภทอะไร  กล่าวคือ คำนาม กริยา วิเศษณ์ (adverb)  หรือคุณศัพท์ (adjective) เป็นต้น

ประเภทของคำว่า อัตตา

คำว่า อัตตในภาษาบาลีนั้น เมื่อเข้ามาอยู่ในภาษาไทย มี 2 ลักษณะ คือ
1) แปลมาเป็นภาษาไทย คือ แปลเป็นคำว่า ตนหรือ ตัวตน
2) ใช้การทับศัพท์ ก็เขียนเป็นภาษาไทยว่า อัตต

ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่า ภาษาบาลีที่เข้ามาในภาษาไทยนั้น มาแต่ เสียงตัวอักษรที่สังคมไทยใช้เขียนแทนเสียงบาลีที่ว่านั้น  มีหลายรูปแบบ

พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ก็จะเขียนดังนี้ อตฺตาอย่าไปเข้าใจผิดว่า อ อ่าง ต เต่า สระอานั้น เป็นภาษาบาลีนะครับ  เป็นตัวอักษรไทย

ตกลง เสียงของภาษาบาลีที่ว่าอัตตานั้น ในภาษาไทยมี 2 คำคือ ตน/ตัวตน และ อัตตา

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นดังนี้

หลักฐานประการที่ 1
ผู้เขียนขอยกหลักฐานจากอนัตตลักขณสูตร  แต่เพียงบางส่วนสั้นๆ ดังนี้

[20] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว ......

[21] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?...

ผู้เขียนขีดเส้นใต้และทำตัวหนาไว้ จำนวน 3 ข้อความคือ
รูปเป็นอนัตตา
ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา
นั่นเป็นตนของเรา?...

ตรงนี้เป็นที่น่าตั้งข้อสงสัยว่า คำในภาษาบาลีคำเดียวกัน คือ อัตตา ทำไมต้องใช้ภาษาไทยถึง 2 คำในถ่ายทอดความหมายจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย

ลักษณะทางภาษาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การประหยัด 

ในทางภาษาศาสตร์จึงไม่มีคำซ้ำซ้อน ประเภทที่ว่า คำ 2 คำ สามารถใช้แทนที่กันได้ทุกตำแหน่ง  คำ 2 คำไม่ว่าจะมีความหมายคล้ายกันเพียงใดก็ตาม  ไม่สามารถจะใช้แทนที่กันได้ทุกตำแหน่ง

คำ  2  คำที่นักภาษาศาสตร์มักจะได้เรียน เมื่อศึกษาถึงตอนนี้ก็คือ ปิ้ง กับ ย่าง คำ  2  คำนี้ หาความแตกต่างกันได้ยากเหลือเกิน ส่วนใหญ่จะใช้แทนกันได้เกือบทุกตำแหน่ง

ดังนั้น คำว่า อัตตา กับ ตน/ตัวตน ในภาษาไทยนั้น น่าจะเป็นคำคนละประเภทกัน อันที่จริงในภาษาบาลีก็ต้องเป็นคำคนละประเภทกันด้วย  แต่เขียนเหมือนกัน

ตรงนี้ก็ยกตัวอย่างภาษาอังกฤษจะเข้าใจง่าย (ผู้เขียนนึกออกแต่คำภาษาอังกฤษ) คือ คำว่า water  คำว่า water ถ้าเป็นคำนามก็แปลว่า น้ำ”  ถ้าเป็นคำกริยาก็ต้องแปลว่า รดน้ำ

แล้วคำว่า อัตตากับ ตนของภาษาไทยเป็นคำอะไร

นักภาษาศาสตร์ เขาดูโครงสร้างประโยคกันก่อน  โครงสร้างประโยคแบบนี้คือ

ประธาน + เป็น + กรรม

โครงสร้างประโยคที่ประธาน มีกริยา เป็นและมีกรรมนั้น กรรมสามารถเป็นได้ 2 ประเภทคือ นาม กับ คุณศัพท์ (adjective)

เมื่อพิจารณาจากพระสูตรดังกล่าวแล้ว สรุปได้ว่า  ผู้ที่แปลภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยนั้น แปลเป็นคำว่า อัตตาที่เป็นคำนามในภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยว่า ตนหรือ ตัวตน

แต่จะใช้การทับศัพท์ ถ้าคำว่า อัตตาในภาษาบาลีเป็นคำคุณศัพท์ (adjective)

เมื่อคำว่า อัตตาเป็นคำคุณศัพท์ (adjective) แล้ว คำว่า อนัตตาที่ผมเน้นด้วย ในการยกตัวอย่างที่ผ่านมา ก็เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ด้วย

หลักฐานประการที่ 2

คำว่า อนัตตานั้น ถ้าเป็นคำนามแล้ว นิยมจะเขียนดังนี้ อนัตตตา”  คำว่า อัตตานั้น ถ้าเป็นคำนามแล้ว นิยมจะเขียนดังนี้ อัตตตา

เป็นที่น่าแปลกใจว่า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่ได้เก็บความหมายของคำว่า อัตตาในกรณีที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไว้ 

ในการหาความหมายของคำว่า อัตตาผู้เขียนจึงต้องไปหาหลักฐานมาจากแหล่งอื่นๆ.



30 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. อย่ามั่วนะครับ นิพพาน ไม่มีนิจจังสุขขัง อัตตา พระพุทธองค์ไม่ไ้ด้สอนนะครับ ดวงแก้วนั้นคือดวงอวิชชา ต่างหากที่ทำให้เกิดสังขาร

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4.   ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
                 [๔๕๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าว
    อย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ
    ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
    ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.

    ตอบลบ
  5. แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่า ความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายล้วนเป็น มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด และทรงชี้ทางที่เห็นถูกไว้ว่า ตราบใดที่ยังไม่สิ้นความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 แล้ว อาทิ ยังยึดมันว่า รูปเป็นตัวตน หรืออัตตา เวทนาเป็นอัตตา สัญญาเป็นอัตตา สังขารเป็นอัตตา และวิญญาณเป็นอัตตา ก็ยังจะมีการเกิดดับไม่รู้จักจบสิ้นในสังสารวัฏ การยึดมั่นในขันธ์ 5 นี้ เรียกว่า "ปัญจุปาทานขันธ์" [12]

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ข้อความนี้อยากให้ท่านรู้ว่า อย่าได้เห็นผิด และบิดเบือนพุทธธรรม ประโยคที่ 2 ว่าด้วยอวิิชชาทำให้เกิดสังขาร

      ลบ
    2. ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้าจะทรงตรัสรู้ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ชาวโลกมีทิฏฐิสุดโต่งอยู่ 2 ประการ กล่าวคือ ฝ่ายสัสสตทิฏฐิ ที่เห็นว่าในปัจจุบันชาตินี้ก็มีอัตตา คือ ตัวตน เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาคือตัวตนก็ยังไม่สิ้น ยังจะมีสืบภพชาติต่อไป มีชาติหน้าเรื่อยไปไม่มีขาดสูญ และฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่า มีอัตตาตัวตนอยู่แต่ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาตัวตนก็สิ้นไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะให้ไปเกิด ดั่งที่เห็นว่า ตายสูญ

      แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่า ความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายล้วนเป็น มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด และทรงชี้ทางที่เห็นถูกไว้ว่า ตราบใดที่ยังไม่สิ้นความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 แล้ว อาทิ ยังยึดมันว่า รูปเป็นตัวตน หรืออัตตา เวทนาเป็นอัตตา สัญญาเป็นอัตตา สังขารเป็นอัตตา และวิญญาณเป็นอัตตา ก็ยังจะมีการเกิดดับไม่รู้จักจบสิ้นในสังสารวัฏ การยึดมั่นในขันธ์ 5 นี้ เรียกว่า "ปัญจุปาทานขันธ์" [12]

      ลบ
  6. ผมเห็นด้วยนะครับ เพราะพุทธองค์ไม่ได้สอนเรื่องอัตตาเลย ท่านสอนแต่ไม่ให้ยึดมั่นในตัวเราของเรา ตัวเขาของเขา เท่านั้น อย่าแก้ไขพระไตรปิดฏเลยครับ

    ตอบลบ
  7. ขอเรียนผู้ที่มาให้ความคิดเห็นด้านบน ช่วยมาเขียนใหม่อีกครั้ง

    ผมอ่านแล้วงงๆ

    คือ อยู่ดีๆ ก็โผล่มา 8 ความคิดเห็น ลบเองอีก 2 ความคิดเห็น

    ตกลงแล้ว แต่ละท่านต้องการจะนำเสนอความคิดอะไร ช่วยมาเขียนใหม่อีกครั้ง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นิพพานนั้น ไม่ใช่ นิจจัง สุขขัง อัตตา 100เปอเซ็นครับ

      ลบ
  8. ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้าจะทรงตรัสรู้ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ชาวโลกมีทิฏฐิสุดโต่งอยู่ 2 ประการ กล่าวคือ ฝ่ายสัสสตทิฏฐิ ที่เห็นว่าในปัจจุบันชาตินี้ก็มีอัตตา คือ ตัวตน เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาคือตัวตนก็ยังไม่สิ้น ยังจะมีสืบภพชาติต่อไป มีชาติหน้าเรื่อยไปไม่มีขาดสูญ และฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่า มีอัตตาตัวตนอยู่แต่ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาตัวตนก็สิ้นไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะให้ไปเกิด ดั่งที่เห็นว่า ตายสูญ

    แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่า ความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายล้วนเป็น มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด และทรงชี้ทางที่เห็นถูกไว้ว่า ตราบใดที่ยังไม่สิ้นความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 แล้ว อาทิ ยังยึดมันว่า รูปเป็นตัวตน หรืออัตตา เวทนาเป็นอัตตา สัญญาเป็นอัตตา สังขารเป็นอัตตา และวิญญาณเป็นอัตตา ก็ยังจะมีการเกิดดับไม่รู้จักจบสิ้นในสังสารวัฏ การยึดมั่นในขันธ์ 5 นี้ เรียกว่า "ปัญจุปาทานขันธ์" [12]
    หากยังเห็นว่า มีอัตตาตัวตนอยู่ก็ไม่พ้นบ่วงแห่งมารครับ ยังตกอยู่ที่อวิชชา ยึดมั่นถือมั่นในอัตตา

    ตอบลบ
  9. ถามจริงๆ คุณเข้าใจที่ผมเขียนไปข้างบนหรือเปล่า

    เอาง่ายๆ ก่อน ...................

    บทความของผมข้างบนนั้น ส่วนไหนมันผิดอย่างไร คุณอธิบายให้เหตุผลมาเลย ตรงไหนก็ได้

    ผมจะได้ "โต้แย้ง" ได้ตรงจุด

    ผมว่า.......... คุณไม่เข้าใจบทความข้างบนเลย.................

    อ่านจบหรือเปล่าก็ไม่รู้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อ่านแล้วครับ แต่ผมแย้งหัวข้อ เพราะผมเป็นคนรักธรรมะคนหนึ่งครับ หัวข้อที่ว่า นิพพานเป็นอัตตา ผมจึงไม่เห็นด้วยครับ เหตุใดท่านเชื่อว่านิพพานเป็น นิจจังสุขขังอัตตา ซึ่งไม่ตรงกับพระไตรปิฏก เหตุใดท่านจึงเชื่อเช่นนั้นครับ

      ลบ
    2. เพราะคำว่าอัตตา กับอนัตตา เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เปรียบเหมือนธาตุน้ำกับไฟ เลยครับ

      ลบ
    3. ผมว่า "ตรงตามพระไตรปิฎก" ถ้าคุณว่า "ไม่ตรง" คุณก็ต้องมีหลักฐานประกอบคำอธิบายของคุณ

      ไม่ใช่เขียนมาแค่นั้น มันใช้ไม่ได้

      คุณต้องมีหลักฐานประกอบคำอธิบาย

      ลบ
    4. หลักฐานง่ายที่สุดเลยคือ พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่าสิ่งต่างๆให้ปล่อยวาง ในอัตตาตัวตน เพราะกองสังขารเป็นมหาทุกข์ เหตุในปฏิจสมุปบาท ในหลักฐาน ที่ท่านยกมานั้นก็มีการ เน้นคำให้ดูสับสน ปิ้งกับย่าง มันดูคล้ายนะครับ แต่อัตตา กับอนัตตา นี่มันต่างกันมากทีเดียว ดังนั้น ถ้าตรงจริง ทำไมแนวทางการปฏิบัติของวัดปากน้ำและวัดพระธรรมกาย จึงเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดเจนเล่า พระไตรปิฎกมีเยอะมาก ทั้งฝ่ายมหายาน และเถรวาท ซึ้งทั้งสองฝ่ายก็ยืนยันตรงกันว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น ไม่มีต่างกันเลย ผิดกับทาง ของวัดปากน้ำ มากมายนัก เพราะอวิชชาจึงมีสังขาร อยากให้ท่านจำคำนี้ไว้ หรือว่าศึกษาของหลายๆอาจารย์ก็ได้ หรือไม่ก็ศึกษาฝ่ายมหายาน ที่มีคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับพระสารีบุตร ขอรับ จะได้กระจ่างในพุทธธรรม สาธุ

      ลบ
    5. ผมจึงไม่อยากให้มีการตีความ ในคติความเชื่อของตนครับ จะผิดจากพุทธธรรมได้ การปฏิบัติ ต้องเทียบเคียงพุทธ ไม่ใช่เปลี่ยนพุทธธรรม ให้ตรงตามความเข้าใจของตนขอรัีบ เพราะเรายังเป็นปุถุชน จะตรัสสินไม่ได้ ดังนั้น นิจจัง สุขขัง อัตตา ไม่มีแน่นอน

      ลบ
  10. ผมพิจารณาข้อเขียนของคุณมานานแล้ว คุณไปศึกษาใหม่อีกสักสิบปี แล้วมาให้ความคิดเห็นใหม่จะดีกว่า

    ความรู้ของคุณในเรื่องความเข้าใจภาษา ตรรกะในการคิดการเขียน ไม่เกินระดับมัธยม

    ไม่ว่าคุณจะมีการศึกษาในระดับใดก็ตาม

    ตอบลบ
  11. ผมไม่ได้ว่าคุณเลยนะ แต่หลวงปู่สด เดินทางผิดจากพุทธธรรมแล้ว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. และคุณก็ผิดด้วย นิพพาน ไม่ใช่อัตตาแน่นอน

      ลบ
    2. คนที่เชื่อว่านิพพานอัตตา ผิดหมดนะครับ อัตตากับ อนัตตา มัน้หมือนกันตรงใหน อัตตาแปลว่ามี ของเรา อนัตตา แปลว่าไม่มี ไม่ใช่ของเรา มันคนละด้าน

      ลบ
  12. ถ้าอย่างนี้ ไปที่อื่นเลย อย่ามาแสดงความโง่แถวนี้

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ11 สิงหาคม 2557 เวลา 13:46

    ด๊อกเตอร์ ทำไม่คุณไม่บอกเลยล่ะว่านิพพานคือสุขอันแท้จริง อันนี้ยังพอรับได้และเข้าใจง่ายกว่า

    ...

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ11 สิงหาคม 2557 เวลา 13:53

    ถ้านัยที่คุณอธิบายสรุปก้อคือทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงมีเกิดมีดับ ยกเว้นนิพพานที่เป็นสภาวะของสุขที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ผมเข้าใจแบบนี้ถูกมั้ยครับ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ11 สิงหาคม 2557 เวลา 13:56

    แต่ขอความกรุณาอย่าว่าคนอื่นโง่,เป็นควายหรือสาบแช่งใครเลยครับ ต้องเข้าใจนะครับว่าธรรมมะของพระพุทธองค์ลึกซึ้งมาก ยากแก่การที่บุคคลทั่วไปจะเข้าใจ

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2557 เวลา 17:41

    อีกเรื่องนึงคือ ผมฝึกแนวอานาปาณะสติ เมื่อถึงอุปจารระสมาธิจะเกิดตัวรู้เกิดขึ้น ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าจักรพรรดิ์แบบในวิชาธรรมกายได้มั้ยครับ

    ตอบลบ
  17. ไม่ใช่ จักรพรรดิคือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีชีวิตจิตใจ แต่เป็นกายละเอียด ตัวรู้ของคุณ มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวคุณ

    เรื่องแช่งใคร ด่าใครเป็นควาย ผมว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของผม ถ้าผมทำผิด กรรมชั่วก็จะเกิดกับผมเอง

    คุณไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ท่านนิพพานก้าวล่วง ความมี ความไม่มี เพราะก้าวล่วงแล้วจึงเป็นสุข ไม่มีการเข้าถึง และไม่มีการไม่เข้าถึง ท่านเข้า ใจจุดนี้ใหม มนัส

      ลบ
    2. หากกล่าวว่านิพพานมี ก็ยังไม่ใช่ ขอรับ เหตุเพราะนิพพานก้าวล่วงบัญญัติทางภาษา แล้ว

      ลบ