บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อัตตา แปลว่า คงที่


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่ได้เก็บความหมายของคำว่า อัตตในกรณีที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไว้  ในการหาความหมายของคำว่า อัตตผู้เขียนจึงต้องไปหาหลักฐานมาจากแหล่งอื่นๆ

ความหมายของคำว่า อัตตา

จากข้อความของอนัตตลักขณสูตรที่กล่าวมาข้างต้นว่า

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ถ้ารูปนี้ จักได้เป็นอัตตาแล้ว

โครงสร้างประโยคแบบนี้ แสดงให้เห็นว่า อนัตตา กับ อัตตา เป็นคำประเภทเดียวกัน คือ ถ้าเป็นคำนามก็ต้องเป็นคำนามด้วยกัน

ในกรณีนี้ เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ก็เป็นคำคุณศัพท์ด้วยกัน และความหมายต้องตรงกันข้ามกันด้วย

จากบริบท (context) การใช้คำ อนัตตาของพระพุทธเจ้า พุทธเถรวาททั่วไปเข้าใจกันดีว่า คำว่า อนัตตานั้น พระพุทธองค์ท่านกำหนดมาให้ตรงกันข้ามกับคำว่า อัตตตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์/ฮินดูในสมัยนั้น

ดังนั้น จึงเป็นหลักฐานอีกประการหนึ่ง ซึ่งพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า  อนัตตา กับ อัตตา เป็นคำประเภทเดียวกันและความหมายตรงข้ามกันด้วย

คำว่า อนัตตาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเก็บความหมายไว้ว่า ว. ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน

และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเก็บความหมายของคำว่า อัต- ไว้ว่า น. ตน, ตัวเอง

ส่วนคำว่า อัตตา เก็บความหมายไว้ว่า น. ตน

ความหมายของพจนานุกรรมดังกล่าวไม่สามารถให้ความหมายที่ถูกต้องของทั้งคำ ว่า อนัตตาและ อัตตาได้เลย 

กล่าวคือ กำหนดว่า อัตตาเป็นคำนามแปลว่า ตนแต่ไม่ได้กำหนดความหมายของคำว่า อัตตาที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไว้

พอมาถึงคำว่า อนัตตาเก็บแต่ความหมายของคุณศัพท์ (adjective) ซึ่งแปลแบบกำปั้นทุบดินให้ตรงข้ามกับความหมายของคำว่า อัตตาซึ่งเป็นคำนาม คือ แปลว่า  ไม่ใช่ตนซึ่งไม่ควรจะไปแปลเช่นนั้น เพราะ เป็นคำคนละประเภทกัน

โดยสรุป ความหมายของคำว่า อัตตา”, “อนัตตาทั้งคำคุณศัพท์ (adjective) และคำนาม พึ่งพาพจนานุกรมไม่ได้  ต้องไปหาจากแหล่งอื่นอีกเช่นกัน

เพื่อไม่ให้บทความชิ้นนี้ยืดยาวจนเกินไปนัก ผู้เขียนขอสรุปสั้นว่า 

อนัตตา นั้น หลายๆ ท่านให้ความหมายว่า แปรปรวนดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า คำว่า อัตตานั้นควรแปลว่า คงที่

ความหมายของข้อความที่ว่าคำว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขขัง/อัตตา

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า คำว่า นิจจัง/สุขัง/อัตตา เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ซึ่งหน้าที่ของคำคุณศัพท์มี 2 ประการ แล้วแต่ตำแหน่งที่อยู่ในประโยค

ถ้าอยู่ติดกับคำนามก็ทำหน้าที่ขยายนาม  แต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่เป็นกรรม ตามหลังกริยา เป็นก็ทำหน้าที่บรรยายสภาพของประธาน

ความหมายของคำว่า นิจจัง/สุขขัง ไม่มีปัญหาในการถกเถียงกันครั้งนี้  คือ ไม่มีพุทธเถรวาทถกเถียงหรือโต้แย้งกันว่า นิพพานเป็นเที่ยงหรือนิพพานเป็นสุข ทุกคนยอมรับในประเด็นนี้ 

ดังนั้นข้อความที่ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขขัง/อัตตาก็ควรจะแปลได้ว่า  “นิพพานนั้นเที่ยง/เป็นสุข/คงที่ซึ่งก็จะถูกต้องตามหลักคำสอนของพุทธเถรวาททุกประการ

เนื่องจากมีพระสูตรของพระไตรปิฎกเป็นจำนวนมากที่ยันยืนว่า นิพพานมีจริง

ความหมายที่ว่า นิพพานเที่ยง และนิพพานเป็นสุข ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า นิพพานมีจริง  ถ้านิพพานไม่มีจะมีความสุขและความเที่ยงได้อย่างไร

ผู้เขียนขอย้ำหลักวิชาการอีกประการหนึ่งซึ่งสำคัญมาก ผู้ที่สนใจในประเด็นนี้เข้าใจผิดกันมากก็คือ ในทางวิชาการนั้น ถึงแม้ว่าจะมีนักวิชาการคนหนึ่งคนใด หรือ ใครก็ตามใช้คำในพระไตรปิฎกในความหมาย ที่ไม่เหมือนนักวิชาการคนอื่นๆ เขา แต่ใช้ไปตามความต้องการของตน

ในการวิเคราะห์ข้อเขียนของท่านเหล่านั้น ก็ต้องยึดความหมายของท่านผู้นั้นมาวิเคราะห์  ไม่ใช่เอาความหมายของผู้วิเคราะห์คิดเอาไปใส่แทน แล้ววิเคราะห์ มันไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ยกตัวอย่างเช่น พระโพธิรักษ์แห่งสันติอโศก เป็นต้น 

พระโพธิรักษ์นั้นขึ้นชื่อในเรื่องที่ใช้ คำในพระไตรปิฎกไปตามความหมายที่ท่านต้องการ โดยที่ไม่คำนึงถึงความหมายที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน

ในการวิเคราะห์ข้อเขียนของพระโพธิรักษ์นั้น ก็ต้องยึดความหมายของท่านไว้ก่อน  การที่จะนำคำหรือข้อเขียนของพระโพธิรักษ์มาแปลให้ตรงตามคนส่วนใหญ่ใช้ แล้วไป วิเคราะห์นั้น ผิดหลักวิชาการเป็นอย่างยิ่ง

ในกรณีของหลวงพ่อวัดปากน้ำก็เช่นเดียวกัน ประการสำคัญเลย ก็ต้องหาความหมายของคำว่า อัตตาที่หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้ ถึงแม้ว่า มันจะแตกต่างจากคนอื่นใช้ก็ตาม ก็ต้องวิเคราะห์ไปตามนั้นก่อน

สำหรับ ความหมายของคำว่า อัตตาที่หลวงพ่อวัดปากน้ำต้องการสื่อสารไปให้คนฟังนั้น อธิบายให้เห็นภาพพจน์เลย ต้องขอยืมหลักการของทางคณิตศาสตร์ กล่าวคือ ในความหมายของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น

นิจจัง = สุขัง = อัตตา

ในความเป็นจริงแล้ว คำอธิบายที่ว่า "นิจจัง = สุขัง = อัตตา" ยังไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงนัก เป็นเพียงคำอธิบายให้เห็นภาพพจน์เท่านั้น 

ความหมายของ นิจจัง/สุขัง/อัตตา เป็นความหมายเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน แต่แยกอธิบายออกเพื่อให้เข้าใจ

ถ้าบอกว่า "สิ่ง" หนึ่งเป็นนิจจัง  โดยไม่ได้บอกว่าเป็นสุขัง/อัตตา ด้วย ก็พึงโปรดรู้ด้วยว่า "สิ่ง" นั้นเป็น "นิจจัง/สุขัง/อัตตา" ไปโดยอัตโนมัติ

โดยสรุปอย่างสั้นๆ

ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "นิจจัง" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น สุขัง/อัตตา เป็นโดยอัตโนมัติ
ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "สุขัง" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น นิจจัง/อัตตา เป็นโดยอัตโนมัติ
ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "อัตตา" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น นิจจัง/สุขัง เป็นโดยอัตโนมัติ

เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้

ในทางพุทธเถรวาท ทุกคนเข้าใจดีว่า นิพพานในศาสนาของพระสมณโคดมหรือพระพุทธเจ้าของเรานี้ มีนิพพานเดียว

ดังนั้น ข้อความที่ว่า นิจจัง/สุขัง/อัตตาจึงเป็นการอธิบาย "สิ่ง" เดียว ไม่ใช่อธิบาย "สิ่ง" จำนวน 3 ชิ้น

กล่าวคือ ถ้ามีนิพพาน 3 แห่ง นิพพานแห่งหนึ่งเป็น "นิจจัง" นิพพานแห่งหนึ่งเป็น "สุขัง" นิพพานแห่งหนึ่งเป็น “อัตตา”

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง  เราอาจจะตีความไปได้ว่า นิจจัง/สุขัง/อัตตา มีความแตกต่างกันในทางความหมาย

สำหรับปัญหาที่ว่า ทำไมพระพุทธองค์ต้องทรงอธิบายหรือบรรยายสภาพของนิพพานเป็น 3 คำด้วย 

คำตอบสำหรับปัญหาดังกล่าว ก็คือ มาจากธรรมชาติ 2 ประการคือ ธรรมชาติของพุทธศาสนิกชนและธรรมชาติของภาษา

ธรรมชาติของพุทธศาสนิกชนนั้น ต้องยอมรับว่า มีหลายระดับหลายความคิดหลายความรู้หลายบารมี การแยกแยะอธิบายให้เห็นชัดเจนในทุกแง่ทุกมุมจะทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจพุทธ ธรรมได้ดีและง่าย

บางสิ่งบางอย่างถ้าจะใช้คำว่า นิจจังหรืออนิจจังอธิบายให้เห็นสภาพอาจจะง่ายกว่าคำว่า ทุกขัง/สุขขัง หรือ อนัตตา/อัตตา เป็นต้น

สำหรับธรรมชาติของภาษาก็คือ ในการรับรู้อายตนะภายนอก พุทธศาสนิกชนสามารถรับรู้ได้พร้อมๆ กัน ทั้ง หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ  แต่เมื่อต้องการจะสื่อสารออกไป เนื่องจากมนุษย์มีเพียง ปากเดียวเท่านั้น

ธรรมชาติของภาษาจึงต้องสามารถพูดออกมาได้ทีละเรื่องๆ ไป ไม่สามารถพูดได้ทีละหลายๆ เรื่อง

สมมุติว่า เราเกลียดคนๆ หนึ่งที่มีความเลวมากๆ อย่างเช่น นักการเมืองในอดีตหลายๆ ท่าน 

ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเราต้องการบรรยายความเลวของนักการเมืองเลวๆ ดังกล่าว ไม่ว่าจะมีความเลวทรามมากเท่าใดก็ตาม เราก็จะทำได้แต่เพียงบรรยายมาทีละเรื่องเท่านั้น

จบเรื่องนี้จึงไปเรื่องอื่นๆ ต่อไป ก็เพราะ ธรรมชาติของภาษาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ถ้ามีคนจะตั้งคำถามขึ้นว่า ในกรณีที่ทศกัณฐ์มีจริงๆ ท่านมีสิบปาก ท่านสามารถจะพูดทีละสิบปากเลย ดังนั้น ทศกัณฐ์น่าจะบรรยายความเลวของนักการเมืองได้ทีละสิบเรื่องด้วยกัน 

ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องขอบอกว่า ทศกัณฐ์ก็ต้องบรรยายทีละปากทีละเรื่องอยู่ดี เพราะ ผู้ฟังมีแค่  2  หูเท่านั้น  ไม่สามารถจะฟังทีละหลายเรื่องหรือทีละหลายปากได้

โดยสรุป

ความหมายของข้อความที่ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎกดีแล้ว

ทำไมจึงต้องการการตัดคำว่า นิจจัง/สุขังออกไป แล้วโจมตีว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา”…



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น